top of page

กระดูกพรุน

    กระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นอาการที่มวลกระดูก (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุ) ลดลงอย่างต่อเนื่องจนทําให้โครงสร้างกระดูกอ่อนแอ แตกหักง่าย ภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงถึง 1 ใน 3 และผู้ชายจํานวนมาก แม้การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะป้องกันภาวะนี้ได้ แต่ผู้หญิงมากมายไม่อยากใช้วิธีนี้ แม้ยังไม่มีมาตรการใดที่ป้องกันได้เต็มที่ แต่การกินสารเสริมอาหารและเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตจะช่วยลดการ สูญเสียได้

สาเหตุ

การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจําเดือนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ภาวะกระดูกพรุนที่เพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนดังกล่าวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและ ทําให้กระดูกแข็งแรง (ชายสูงอายุก็เกิดภาวะกระดูกพรุนได้แต่มักสูญเสียมวล กระดูกน้อยกว่า เพราะมีกระดูกหนาแน่นกว่า) ปัยจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การหมด ประจําเดือนเร็ว ขาดการออกกําลังกายที่เน้นการรับน้ำหนักของกระดูก เช่น การเดิน และการขาดแคลเซียมและสารอาหารอื่นที่จําเป็นต่อการสร้างกระดูก ความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนยังเพิ่มขึ้นในคนที่มีกระดูกเล็ก (ผู้หญิงผิวขาว และผู้หญิงเอเชีย) น้ํำหนักตัวต่ํากว่าเกณฑ์ หรือหมดประจําเดือนแล้ว มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกินสเตียรอยด์หรือยากันชักมานาน

สารเสริมอาหารช่วยได้อย่างไร

สารเสริมอาหารที่แนะนําช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นเมื่อกินอย่างน้อย 6 เดือน โดยใช้ร่วมกับยารักษากระดูกพรุนและ

การบําบัดด้วยฮอร์โมน การกินสารเสริมอาหารสูตรบํารุงกระดูกอาจสะดวกกว่า แต่ต้องระวังหากกําลังกินยาป้องกันเลือดแข็งตัว เพราะอาจมีวิตามินเคที่ทําให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น

แคลเซียม มีบทบาทมากต่อความแข็งแรงของกระดูก วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม แมกนีเซียม และโบรอนช่วยเปลี่ยนแปลงวิตามินดีให้อยู่ในรูปที่นําไปใช้ได้ การวิจัยเมื่อไม่นานนี้พบว่า วิตามินซีซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีส่วน ในการเพิ่มมวลกระดูกและส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่ช่วยยึดเกาะแข็งแรงขึ้น สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ก็สําคัญต่อการดูดซึมแร่ธาตุและสุขภาพกระดูก ถ้ากินวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ สําคัญเสริม เช่น ซิลิกอน วิตามินบี6 และกรดโฟลิก จะยิ่งช่วยปกป้องกระดูก

คําแนะนําเพิ่มเติม

  • ออกกําลังกายที่เน้นการรับน้ํำหนักของกระดูก เช่น เดิน หรือยกน้ํำหนัก ซึ่งขาและร่างกายส่วนต่างๆต้องออกแรงต้าน

  • เลิกสูบบุหรี่

  • จํากัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ถ้าอยู่ในวัยหมดประจําเดือน อาจใช้ฮอร์โมนทดแทน

  • กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีนหรือปลาแซลมอน (กินทั้งกระดูก)

  • กินผักผลไม้มากๆ เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุ กินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เพื่อให้ได้ไอโซฟลาโวน โดยเฉพาะชนิดเจนิสเตอิน (genistein) และเดอิดเซอิน (daidzein) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน

Hua Hin, Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan 77110, Thailand

©2017 by Happy Healthy. Proudly created with Wix.com

bottom of page